วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การถักลาย เพิร์ล (Purl)

จากบทความที่แล้วได้สอนวิธีการถักแบบนิต (K) ไปแล้วเป็นอย่างไรกันบ้างหวังว่าคงทำได้คล่องมือแล้วนะคะ เรามาเริ่มลายต่อไปเลยดีกว่าค่ะ ลายนี้เรียกว่า เพิร์ล หรือ Purl sittch คำย่อคือ P สัญลักษณ์ ก็คือ ขีดทางขวางดังรูป ล่างนี้ค่ะ


สัญลักษณ์ Purl (P)



ลายที่ได้ออกมาก็จะเป็นอย่างที่เห็นนะคะ







เรามาเริ่มทำกันเลยดีกว่าค่ะ สำหรับการจับไม้ก็เหมือนเดิมนะคะ เหมือนตอนทำ ลายนิต(K)

1. สอด(แทง)ไม้นิต ขวามือเข้าไปทางด้านบนของห่วงแรกบนไม้นิตซ้ายดังรูป 1.






2. นำไหมพรมคล้องปลายไม้นิตขวา ดังรูป 2


3. ดึงไม้นิตขวาลงเล็กน้อยพร้อมทั้งเกี่ยวไหมพรมที่คล้องไว้ลอดผ่านห่วงออกมาดังรูป 3



4. ปลดห่วงออกจากไม้ซ้าย จะได้ ห่วงที่ไม้ขวา ทำตามข้อ 1-4 ต่อไปเรื่อย ทุกห่วงจนจบแถว






เป็นอย่างไรบ้าง ยากไหมคะตอนหัดทำใหม่ๆ รู้สึกว่ามันยากกว่า นิต(K) แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ จนคลองทือแล้วจะรู้สึกว่า มันทำได้เร็วกว่ามากเลย แทงขึ้น คล้อง เกี่ยวลง ปลดออก ท่องไว้ค่ะ ถ้ายังไม่ชัดเจน ลองดูใน VDO นะคะ ถ้าเป็นไปได้ในทุก ๆ พื้นฐานจะพยายามหา VDO มาให้ดูควบคู่กันไปด้วยนะคะ แต่ว่าเขาก็จะทำเร็วค่ะต้องดูหลาย ๆ รอบนะ สู้ๆๆๆ ค่ะ



การถักลาย นิต (knit)


วันนี้เรามาเริ่มเรียนรู้ เรื่องใหม่กันดีกว่า ค่ะ คือการถักแบบนิต Knit ตัวย่อ คือ k ส่วนสัญลักษณ์คือ ขีดตรงอย่างบรูปนี้ค่ะซึ่งเราจะพบได้ในแบบตามหนังสือต่าง ๆ ค่ะ ซึ่งก็จะหมายถึงการแทงลงค่ะส่วนขั้นตอนเป็นอย่างไรนั้นวันนี้นำมาให้ดูหลายแบบค่ะไม่รู้ว่าแบบไหนจะเข้าใจง่ายกว่ากันลองทำดูนะคะ

สัญลักษณ์ นิต (K)


แบบที่ 1 พอเราขึ้นต้นได้จำนวนห่วงที่เราต้องการแล้ว(ตอนฝึกเอาแค่ 10-15 ห่วงพอค่ะจะได้จบแถวเร็วและเห็นผลงานได้ชัดเจน)

1. นำไม้นิตด้านที่ไม่มีไหมพรมไว้ทางขวามือด้านมีไหมพรมไว้ทางซ้ายมือจากนั้นสอดปลายไม้นิตด้านขวาเข้าไปในห่วงแรกของไม้นิตด้านซ้ายมือ ดังรูป 1



2. นำไหมพรมมาคล้องที่ปลายของไม้นิตข้างขวาดังรูป 2



3. ดึงไม้นิตด้านขวาลงเล็กน้อยพร้อมทั้งคล้องไหมพรมลอดห่วงขึ้นมาด้านบนดังรูป 3




4.ปลดห่วงที่ 1 ออกจากไม้นิตด้านซ้ายจะได้ห่วงใหม่ที่เราทำขึ้นอยู่ที่ไม้นิตขวามือดังรูป 4 แล้วทำตามขั้นตอน 1-4 กับทุกๆ ห่วงที่เหลือ

แบบที่ 2 ก็เป็นวิธีการเดียวกันกับแบบแรกค่ะแต่ว่ารูปขั้นตอนอาจชัดเจนกว่าเลยเอามาให้ดูอีครั้ง



1. เมื่อขึ้นต้นเสร็จแล้ว จับไม้นิตดังรูป 1 ค่ะ






2.สอดปลายไม้นิตด้านขวามือเข้าไปที่ห่วงแรกด้านซ้ายมือ







3. ใช้มือซ้ายจับไม้นิตทั้งสองไว้ แล้วใช้มือขวาคล้องไหมพรมเข้าที่ปลายของไม้นิตอันล่าง(อันขวามือ)










4-5. ดึงไม้นิตขวามือลงเล็กน้อยพร้อมทั้งคล้องไหมพรมลอดออกมาจากตรงกลางห่วง





6. ปลดห่วงแรกด้านซ้ายมือ ออกมา จะได้ 1 ห่วงเพิ่มขึ้นที่ไม้นิตด้านซ้ายมือ 1 ห่วง ทำไปเรื่อยๆ จนจบแถวคือไม้นิตด้านซ้ายมือไม่เหลือห่วงอยู่เลยและไม้นิตด้านขวามือมีห่วงอยู่ครบทุกอัน และเมื่อจะทำแถวต่อไปก็นำไม้นิตด้านที่มีห่วงอยู่เต็มมาไว้ทางด้านซ้ายมือ ไม้นิตด้านที่ไม่มีห่วงไว้ทางขวามือ จากนั้นเริ่มทำแถวที่ 2 ต่อไปได้เลยค่ะ ลายที่ได้ออกมาก็จะเป็นดังรูปข้างล่างนี้ ค่ะ

ลายที่เห็นเป็นการถักลายนิตอย่างเดียวทั้งแถวคู่และแถวคี่ หรือเรียกว่าด้านหน้าและด้านหลังชิ้นงาน ในภาษาอังกฤษ และในแพทเทิร์นหนังสือต่างๆ เรียกลาย Garter stitch (ลายการ์เตอร์)



แต่ถ้าจะให้เป็นลาย อย่างที่เห็นในรูปที่เป็นสีฟ้าด้านบน เรียกว่าลาย Stocking stitch (ลายสต๊อกกิ้ง) หรือที่ใช้สัญลักษณ์ St st ซึ่งเป็นลายที่จะสอนในครั้งต่อไปค่ะ





เป็นอย่างไรบ้างคะ พอจะทำได้กันหรือเปล่า ถ้ายังไม่แน่ใจลองดู VDO อีกทีก็ได้ว่าที่เราทำมาถูกต้องหรือไม่ จากนั้นก็ฝึกฝนให้คล่องมือนะคะพยายามดึงไหมพรมให้พอดีพอดี ไม่แน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้เราสอดปลายไม้นิตเข้าไปในห่วงได้ลำบากมากค่ะ แต่ถ้าหลวมเกินไปก็จะหลุดง่าย พยายามดึงไหมพรมให้มีน้ำหนักมือที่เท่ากันทุกครั้งจะทำให้ได้ลายออกมาสวยงามและเป็นระเบียบค่ะ โดยเฉพาะตอนเริ่มและจบแถว จะทำให้ขอบของชิ้นงานเป็นแนวตรง




วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ผลงานใหม่ค่ะหมวกลายเกลียว












ผลงานใหม่เพิ่งทำเสร็จค่ะ เป็นหมวกเด็กใส่ได้ผู้ใหญ่ใส่ดี ใช้เวลาถัก 2 วันค่ะ(ขี้เกียจเนอะ) แหมก็ต้องทำอะไรหลายอย่างนะวันๆนึง







ใช้ไม้นิตแบบวงกลมค่ะ ถ้าไม่มีก็ใช้ไม้นิตแบบปลายแหลม 2 ด้านก็ได้ใช้ 4-5 อัน แต่ที่เห็นก็ใช้ไม้ไผ่เหลาเอาเองค่ะ(งกค่ะ..ก็ซื้อมันแพง...ทำเองไม้ไผ่อนุรักษ์ธรรมชาตินะ)








ผลที่ได้ออกมาก็สวยงามค่ะใส่ได้ไม่อายใคร ส่วนวิธีถักนะก็ง่ายๆ อันนี้ดูและแปลมาจากเว็บภาษาอังกฤษ ก็อาจมีคำไทยบ้างอังกฤษบ้างปะบนกันไปเพราะบางคำก็ไม่รู้ว่าจะเรียกเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร อันนี้เป็นวิธีการที่ใช้ไม้นิตแบบวงกลมนะคะ สำหรับไม้นิตธรรมดาเดี๋ยวลงให้คราวต่อไปค่ะ


เริ่มต้น 88 ห่วงเชื่อมเข้าด้วยกัน เป็นวงกลม ที่ทำใช้ไม้นิตเบอร์ 7 (4.5 mm)ค่ะ


แถวที่ 1: K3,P1 ไปเรื่อยๆ จนจบแถว


แถวต่อๆไป : ทำซ้ำแถวที่ 1 ไปเรื่อยๆ จนมีความสูงประมาณ 2 นิ้วจากเริ่มต้น




จากนั้นเริ่มทำลายเกลียว (Cable pattern)


แถวที่ 1 : P2,K6,P2,K1 จนครอบรอบ


แถวที่2-4 : ทำเหมือนแถวที่


แถวที่ 5 : *P2, เอา 3 ห่วงถัดไปไว้บน cn (cable needle) จับไว้ด้านหลังของชิ้นงาน,K3


ในห่วง ที่ไม้นิตซ้ายมือ,K3 บน cn ,P2,K1* แล้วทำซำ*จนครบรอบ


แถวที่ 6-8 : ทำเหมือนที่ 1


จากนั้นทำซ้ำแถวที่ 1-8 นี้ไปเรื่อยๆจนมีความสูง ประมาณ 5 นิ้วจากเริ่มต้น


แล้วเริ่มลดขนาด




การลดขนาด


แถวที่ 1 : *K2tog,K9 ทำซ้ำ * ไปเรื่อยจนจบแถว


แถวที่ 2 : *K2tog,K8 ทำซ้ำ * ไปเรื่อยจนจบแถว


แถวที่ 3 : *K2tog,K7 ทำซ้ำ * ไปเรื่อยจนจบแถว


แถวที่ 4 : *K2tog,K6 ทำซ้ำ * ไปเรื่อยจนจบแถว


แถวที่ 5 : *K2tog,K5 ทำซ้ำ * ไปเรื่อยจนจบแถว


แถวที่ 6 : *K2tog,K4 ทำซ้ำ * ไปเรื่อยจนจบแถว


แถวที่ 7 : *K2tog,K3 ทำซ้ำ * ไปเรื่อยจนจบแถว


แถวที่ 8 : *K2tog,K2 ทำซ้ำ * ไปเรื่อยจนจบแถว


แถวที่ 9 : *K2tog,K1 ทำซ้ำ * ไปเรื่อยจนจบแถว


แถวที่ 10 : K2tog ตลอดแถวแล้ว ปิดงาน


หมายเหตุ.....K2tog คือการ K 2 ห่วงพร้อมกัน


วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การเริ่มแบบ Long tial cast-on

การขึ้นต้นอีกแบบนึงค่ะห่วงที่ได้ออกมาจะเป็นแบบ stockinette stitch คืออีกด้านเป็นลาย นิต(K) อีกด้าเป็นลายเพิร์ล (P) ลองทำดูนะคะ

การเริ่ม single cast-on

การเริ่มแบบ single cast-on เป็นการเริ่มที่ง่ายที่สุดและเร็วที่สุดเหมาะสำหรับนำไปขึ้นทุกชิ้นงานค่ะ

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Casting on-การขมวดปมและเริ่มต้นห่วง

วันนี้คอมฯเสียทั้งวันเลยค่ะ เปิดเครื่องไม่ขึ้น เครื่องไม่ยอมBoot พอเปิดติดแว๊บๆหน้าจอฟ้องว่าคีย์บอร์ด error ทำยังไงก็ไม่ยอมหาย เครื่องก็พัง กว่าจะแก้ไขได้ก็ค่ำแล้ว ต้องเอาคีย์บอร์ดเก่าไปเคลม และลงวินโดว์ใหม่ วันนี้เลยไม่ได้ทำงานเลยเอามาลงตอนดึกหน่อย
เริ่มต้นที่การขมวดปมค่ะ จริงแล้วจะขมวดยังไงก็ได้ตามแต่วิธีของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกันเอาเป็นว่าทำไงก็ได้ให้ออกมาเป็นปมแบบนี้ ง่ายๆ ค่ะลองทำตามรูป 16-18 ดูค่ะ ไม่ต้องแปลกใจ 17 ไม่มีนะ ถ้ายังไม่ชัดเจนดู VDO ด้านล่างนะคะ




เมื่อเราขมวดปมได้แล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ ภาษาไทยเรียกอะไรนะ ขึ้นต้นห่วง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Casting on ซึ่งจริงแล้วก็มีวิธีขึ้นหลายวิธีค่ะ แต่ยากเกินไปสำหรับมือใหม่อย่างเราเอาแบบธรรมดาหรือที่เรียกว่า singel cast-on ก่อนดีกว่าค่ะแบบอื่นเดียววันหลังจะเอามาลงให้นะคะ ไม้นิตเบอร์ที่เราต้องการใช้ฝึกหัดก็เอาไหมเส้นใหญ่หน่อยนะคะจะง่ายกว่าค่ะเมื่อทำจนคล่องแคล่วแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นเบอร์เล็กต่อไปค่ะ
เมื่อเราได้ปมแล้วนำไม้นิตสอดเข้าไปในห่วงของปมแล้วถือไว้ด้วยมือขวาใช้มือซ้ายจับไหมพรมมาคล้องที่นิ้วหัวแม่มือซ้ายนิ้วนางกับนิ้วก้อยกดไหมไว้กับผ่ามือ เหมือนรูป 19 ค่ะ

เมื่อจับไม้นิตและไหมพรมได้แล้ว ก็นำปลายไม้นิตสอดเข้าที่ช่องว่างระหว่างหัวแม่มือ เพื่อแทนที่นิ้วหัวแม่มือ ก็จะได้ 1 ห่วงบนไม้ค่ะ แล้วก็เริ่มห่วงต่อไปโดยวิธีการเดิมค่ะ






วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การเริ่มต้น จับไม้นิตและไหมพรม

เมื่อคนพร้อม อุปกรณ์พร้อมเรามาเริ่มกันเลยค่ะ
1.การจับไม้ จับคล้ายการจับปากกาหรือดินสอค่ะ (เหมือนภาพ 12และ13ค่ะ)



2.การจับไหมพรม จริงๆแล้วก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคนค่ะ บางคนไหมอยู่มือขวา(ในบางเว็บ) บางคนไหมอยู่มือซ้าย แต่เท่าที่ลองทำมา และสอนคนอื่นๆมาบ้างส่วนใหญ่จะถนัดไหมพรมอยู่มือขวาค่ะ








วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ผลงานจากจากฝึกด้วยตัวเองค่ะ

ตอนแรกก็เน้นทำแจกก่อนค่ะเพราะฝีมือเรายังไม่ไปถึงไหน ถักหมวกให้แฟน ผ้พันคอให้หลาน ถักเสื้ออะไรไปเรื่อยเปื่อย จำได้ว่าการถักผ้าผันคอผืนแรกท้อมากๆค่ะนานกว่าจะเสร็จ แต่พอได้เห็นผลงานและส่งไปให้คนที่เรารักเขาชอบใจก็มีกำลังใจขึ้นมากค่ะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นแนะนำให้ถักผ้าผันคอก่อนค่ะ ตามด้วยหมวกและเสื้อสายเดี่ยว แขนกุด เสื้อกักอะไรประมาณนี้ไปก่อน เพราะเสร็จเร็วเห็นผลงานแล้วมีกำลังใจที่จะสู้ต่อไปค่ะ



(เสื้อกล้ามวัยรุ่นค่ะ ยังไม่เสร็จ)



(อันนี้เสื้อคอปกคล้องคอสีแรงมากไม่รู้ใครจะกล้าใส่หรือเปล่า?)

(หมวกอันนี้ถักตอนเดินทางกลับบ้านพังงา-อุทัยธานี ให้เด็กแถวบ้านไปแล้ว)



(ขอยืมหัวหลานสาวเป็นแบบให้)



(ผ้าพันคอผืนนี้ให้แม่ไปแล้ว แม่ดีใจมาก...แต่ไม่เห็นใช้เลย)




(หมวกใบนี้เป็นใบแรกที่ถัก)



วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

อุปกรณ์ การถักนิตติ้ง

เมื่อจิตใจเราพร้อมสู้เล้วก็ลุยกันต่อเลยค่ะ เริ่มแรกเราก็ต้องรู้จักอุปกรณ์กันก่อน ซึ่งก็ไม่ยุ่งยากอะไรมากนักสามารถหาซื้อได้ทั่วไป สำหรับมือใหม่อย่างเราไม่จำเป็นต้องมีครบหมดทุอย่างก็ได้

1. ไม้นิตแบบตรง ( Straight needle) มีให้เลือกหลายแบบ ทั้งโลหะ ไม้ และพลาสติก หลายขนาดตั้งแต่เล็กมากจนใหญ่มาก การเลือกใช้แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับความชอบและจำนวนเงินในกระเป๋าของเรา ส่วนขนาดก็ขึ้นอยู่กับไหมพรมของเราว่าเส้นใหญ่หรือเล็ก ซึ่งก็จะมีระบุอยู่ในแบบหรือแพทเทิร์นค่ะ ว่าต้องใช้ไม้นิตหรือไหมพรมขนาดใด





(เบอร์และขนาดของไม้นิตค่ะ)
2.ไม้นิตแบบวงกลม (Cricular needle) ก็มีให้เลือกหลายขนาดเช่นเดียวกับไม้นิตแบบตรงค่ะ แต่มีความยาวให้เลือกหลายแบบค่ะแล้วแต่ตวามต้องการ

3.ไม้ถักลายเกลียว หรือ Cable needle ถ้าไม่อยากเสียเงินซื้อใช้ไม้ไผ่เหลาให้มีรูปร่างคล้ายไม้จิ้มฟัน หลาย ๆ ขนากก็สามรถให้แทนเป็นอย่างดีค่ะ (ทำใช้เองอยู่เหมือนกันไม่อยากซื้อเพราะทำหายบ่อยค่ะ)




4.อุปกรณ์พักห่วง ซึ่งก็มีหลายแบบหลายอย่างค่ะ บางครั้งยังไม่จำเป็นต้องใช้ค่ะ



(ไม้เซต)






(ไม้พักห่วง)


5. อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย













อุปกรณ์ ก็มีหลายแบบหลายอย่างให้เลือกใช้นะคะแต่สำหรับมือใหม่ ตอนเริ่มถักลองใช้ไม้นิตแบบตรงเบอร์ 9 (4.5 mm) ดูก่อนดีกว่าค่ะเพราะว่าไม่เล็หรือใหญ่เกินไปง่ายในการเริ่มต้นค่ะ มีคู่เดียวก็สามารถถักได้หลายอย่างแล้วค่ะ
























เตรียมความพร้อม

การเริ่มต้นถักนิตติ้งนั้น ไม่อยากอะไรเลยค่ะเราสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองก็ได้ถ้าเราไม่มีใครสอนให้ก็ไม่เป็นไรไม่จำเป็นต้องเสียเงินไปเข้าคอร์สเรียนหรอกค่ะเก็บเงินไว้ซื้ออุปกรณ์หรือไหมสีสวย ๆที่เราอยากได้ดีกว่าค่ะ สิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีคือความตั้งใจกับความพยายามค่ะ หาแรงบันดาลใจก็ได้ค่ะ เช่นใครจะมุ่งมั่นว่าจะถักเสื้อให้แฟน หรือผ้าพันคอให้กับคนที่เรารักในเทศกาลต่างๆ ก็ได้ไม่ว่ากัน รับรองว่าคนที่ได้รับต้องปลื้มเรามากๆอย่างแน่นอน และเราเองก็จะได้ภาคภูมิใจได้อย่างเต็มที่ค่ะว่าคนอย่างเราก็สามารถทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ค่ะ
เท่าที่ได้เรียนรู้การถักด้วยตนเองมานั้น โดยการศึกษาจากหนังสืองานฝีมือต่างๆ ซึ่งก็ยากพอสมควรนะคะเพราะมีแต่แบบที่เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว แต่เรามันไม่เป็นเลยจะทำอะไรได้อ่านสัญญลักษณ์ก็ไม่เข้าใจ ดูแพทเทิร์นก็ไม่รู้เรื่อง แต่มีพื้นฐานมาตอนสมัยเรียนมัธยม คือการขึ้นต้อ และลาย purl (P) ซึ่งจะอธิบายในตอนต่อไปแล้วกันค่ะ เป็นลายที่ถักออกมาแล้วดูไม่สวยเลยในสายตาของเรา จึงได้พยายามสอบถามจากผู้รู้ใกล้ตัว ซึ่งไม่มีเลย จึงต้องพยายามดูจากหนังสือต่างๆ และศึกษาจากเว็บไซตืต่างประเทศ เพราะเว็บไทยไม่ค่อยสอนพื้นฐานค่ะ ตอนนี้ก็เลยพอจะทำได้หลายลายแล้วจึง อยากจะเผยแพร่ ความรู้ตรงนี้ให้กับเพื่อนหรือใครก็ตามที่สนใจจะเริ่มถักได้ลองทำกันดูค่ะ เป็นอะไรที่ไม่อยากเลยแม้แต่ผู้ชายแท้ๆยังสามารถทำได้เลย (ลองสอนพี่ชายกับแฟนดูแล้วสามรถทำได้ดีค่ะแชอบด้วย)
การเตรียมความพร้อมก็ไม่มีอะไรมากค่ะ ตัวและหัวใจที่รักที่จำทำ นอกนั้นก็อุปกรณ์ในการถักนิตติ้งค่ะ ซึ่งหาซื้อได้ไม่อยากแต่บางอย่างก็มีราคาแพงอยู่เหมือนกันค่ะ ค่อยๆซื้อทีละอย่างเท่าที่จำเป็นก่อนก็ได้ค่ะ